ท่องเที่ยวโดยชุมชน วิถีสู่ความยั่งยืน

          การท่องเที่ยวโดยชุมชน หมายถึง การท่องเที่ยวที่มี เอกลักษณ์ คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม โดยเป็นการท่องเที่ยวที่คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่ไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว เท่านั้น แต่ยังเน้นถึงการสร้างศักยภาพของคนในชุมชนนั้นๆ ด้วย เพื่อให้กิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นอาชีพเสริมที่เข้ามาสนับสนุนอาชีพหลักหรือ วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนโดยที่ไม่เป็นการทำลายวิถีชีวิตเดิมหรือทรัพยากรของชุมชนที่มีอยู่เดิม

การท่องเที่ยวโดยชุมชนเกิดจาก ความร่วมมือกันของคนในชุมชน ดังนั้น ผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับจะกลับเข้าสู่ชุมชนโดยตรงเพื่อพัฒนาและดูแลชุมชน รวมถึงทรัพยากรต่างๆ ของชุมชน และ สิ่งเหล่านั้นจะคืนกลับให้คนทุกคนในชุมชน ในขณะที่การท่องเที่ยวชุมชนผลประโยชน์ ที่ได้ส่วนใหญ่จะคืนกลับสู่ผู้ประกอบการ รายนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้ หรือ การพัฒนาดูแลต่างๆ ซึ่งหากจะคืนกลับสู่ชุมชน ก็อาจจะขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญของแต่ละผู้ประกอบการนั้นๆ โดยผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับแบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้

  1. ด้านเศรษฐกิจ

สร้างรายได้และสร้างอาชีพ ให้กับชาวบ้านได้โดยตรงจาก สิ่งที่ชุมชนมีหรือถือปฏิบัติอยู่ และรายได้ดังกล่าวของชุมชน สามารถน ามาจัดสรรเพื่อสร้าง สาธารณประโยชน์ให้กับชุมชน ซึ่งถือเป็นแนวทางในการลด ภาระให้กับรัฐบาลได้อีกด้วย

  1. ด้านสังคม

สร้างความสามัคคีให้คนใน ชุมชนมีความร่วมมือเป็น อันหนึ่งเดียวกัน นอกจากนี้ ยังสร้างให้ชุมชนเกิดความ ตระหนักและภาคภูมิใจใน มรดกทางสังคมและการ กลับคืนถิ่นของคนในชุมชน มากขึ้น

  1. ด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นการ จัดการโดยชุมชนเองซึ่งสามารถ ป้องกันการเข้ามาของนายทุนที่ จะเข้ามาสร้างผลประโยชน์โดย ไม่ค านึงถึงผลกระทบต่อชุมชน ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี หรือ วิถีชีวิตอันเป็นอัตลักษณ์ชุมชนได

งานไทยเที่ยวไทย สนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้วยดีตลอดมา จะเห็นได้ว่าการจัดงานทุกครั้งมีการนำเสนอพื้นที่พาวิเลี่ยนของ สำนักงาน ททท. หรือ อพท. รวมถึงสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดต่างๆ นำการท่องเที่ยวโดยชุมชน มาจัดแสดงเป็นนิทรรศการโชว์ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือการแสดงสินค้าจำหน่ายให้ผู้สนใจชมภายในงาน เป็นการช่วยส่งเสริมกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี   

 

ที่มาข้อมูล        ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน